การออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการสอนเป็นวิธีการระบบ เพื่อการวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การดำเนินการให้เป็นผลและการประเมินผลของสารปัจจัยและกิจกรรมการเรียนการออกแบบการสอนมุ่งหมายเพื่อวิธีการสอนที่ยึดถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
มากกว่าวิธีการที่ยึดถือผู้สอนเป็นศูนย์กลาง
จนกระทั่งการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิผลเกิดขึ้นได้นี่หมายความว่าจะต้องควบคุมกำกับการองค์ประกอบการสอนทุกชนิดด้วยผลลัพธ์ทางการเรียนซึ่งได้รับการวินิจฉัยภายหลังการวิเคราะห์
ความต้องการ (ความจำเป็น)
ของผู้เรียน อย่างต่อเนื่องสมบูรณ์ขั้นตอนเหล่านี้บางครั้งก็เหลื่อมซ้อนกันและสามารถทำให้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันได้จะให้แนวทางอย่างเป็นพลวัตและมีความยืดหยุ่นสำหรับการสอนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
แบบจำลอง ADDIE
เป็นกระบวนการออกแบบการสอนที่กระทำวนซ้ำใหม่ ในที่ผลของการประเมินผลเพื่อพัฒนาของแต่ละขั้นตอนที่ชี้แนะ
ให้นักออกแบบการสอนพิจารณากลับไป ที่ขั้นตอนก่อนหน้าผลิตผลขั้น สุดท้ายของขั้นตอนหนึ่งๆเป็นผลิตผลเริ่มต้นของขั้นตอนต่อไป
กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนแบบ ADDIE
สามารถสรุปเป็นขั้นตอนทั่วไปได้เป็น 5 ขั้น
ประกอบไปด้วย
1. Analysis (การวิเคราะห์)
2. Design (การออกแบบ)
3. Development (การพัฒนา)
4. Implementation (การนำไปใช้)
5. Evaluation (การประเมินผล)
การออกแบบระบบการสอนโดยใช้แบบจำลอง ADDIE
การวิเคราะห์ (Analysis)
ขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นรากฐานสำหรับขั้นตอนการออกแบบการสอนขั้นตอนอื่นๆในระหว่างขั้นตอนนี้
คุณจะต้องระบุปัญหา ระบุแหล่งของปัญหาและวินิจฉัยคำตอบที่ทำได้ขั้นตอนนี้อาจประกอบด้วยเทคนิคการวินิจฉัยเฉพาะ เช่น การวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น)
การวิเคราะห์งาน การวิเคราะห์ภารกิจ
ผลลัพธ์ของขั้นตอนนี้มักประกอบด้วย เป้าหมาย (goal) และรายการภารกิจที่จะสอน
ผลลัพธ์เหล่านี้จะถูกนำเข้าไปยังขั้นตอนการออกแบบต่อไป
การออกแบบ (Design)
ขั้นตอนการออกแบบเกี่ยวข้องกับการใช้ผลลัพธ์จากขั้นตอนการวิเคราะห์
เพื่อวางแผนกลยุทธ์สำหรับพัฒนาการสอนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องกำหนดโครงร่างวิธีการให้บรรลุถึงเป้าหมายการสอน ซึ่งได้รับการวินิจฉัยในระหว่างขั้นตอนการวิเคราะห์และขยายผลสาระการสอน
องค์ประกอบบางประการของขั้นตอนการออกแบบอาจจะประกอบด้วยการเขียนรายละเอียดกลุ่มประชากรเป้าหมายการดำเนินการวิเคราะห์การเรียนการเขียนวัตถุประสงค์และข้อทดสอบเลือกระบบการนำส่งและจัดลำดับขั้นตอนการสอน
ผลลัพธ์ของขั้นตอนการออกแบบจะเป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับขั้นตอนการพัฒนาต่อไป
การพัฒนา (Development)
ขั้นตอนการพัฒนาสร้างขึ้นบนบนขั้นตอนการวิเคราะห์และการออกแบบ
จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือสร้างแผนการสอนและสื่อของบทเรียนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องพัฒนาการสอนและสื่อทั้งหมดที่ใช้ในการสอน
และเอกสารสนับสนุนต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ (เช่น
เครื่องมือสถานการณ์จำลอง) และซอฟต์แวร์ (เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน)
การดำเนินการให้เป็นผล (Implementation)
ขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นผล
หมายถึงการนำส่งที่แท้จริงของการสอน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชั้นเรียน หรือห้องทดลอง
หรือรูปแบบใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานก็ตาม
จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการนำส่งการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ขั้นตอนนี้จะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนในสารปัจจัยต่างๆสนับสนุนการเรียนรอบรู้ของผู้เรียนในวัตถุประสงค์ต่างๆและเป็นหลักประกันในการถ่ายโอนความรู้ของผู้เรียนจากสภาพแวดล้อมการเรียนไปยังการงานได้
การประเมินผล (Evaluation)
ขั้นตอนนี้วัดผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอน
การประเมินผลเกิดขึ้นตลอดกระบวนการออกแบบการสอนทั้งหมด กล่าวคือ
ภายในขั้นตอนต่างๆ
และระหว่างขั้นตอนต่างๆ และภายหลังการดำเนินการให้เป็นผลแล้ว การประเมินผล อาจจะเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative
evaluation) หรือการประเมินผลรวม (Summative evaluation)
การประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative
evaluation)
ดำเนินการต่อเนื่องในภายในและระหว่างขั้นตอนต่างๆจุดมุ่งหมายของการประเมินผลชนิดนี้
คือ
เพื่อปรับปรุงการสอนก่อนที่จะนำแบบฉบับขั้นสุดท้ายไปใช้ให้เป็นผล
การประเมินผลรวม
(Summative
evaluation)
โดยปกติเกิดขึ้นภายหลังการสอน
เมื่อแบบฉบับขั้นสุดท้ายได้รับการดำเนินการใช้ให้เป็นผลแล้ว การประเมินผลประเภทนี้จะประเมินประสิทธิผลการสอนทั้งหมด
ข้อมูลจากการประเมินผลรวมโดยปกติมักจะถูกใช้เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการสอน (เช่นจะซื้อชุดการสอนนั้นหรือไม่
หรือจะดำเนินการต่อไปหรือไม่)
การออกแบบการสอน (Instructional
Design) เป็นทั้งกระบวนการสำหรับการจัดเตรียมโปรแกรมการสอนอย่างเป็นระบบและหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของบุคคล
ทั้งกระบวนการ
และหลักการดังกล่าวมาเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งในการออกแบบการสอน
ซึ่งจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้
รูปแบบการสอน หมายถึง
แผนการทำงานเกี่ยวกับการสอนที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบระเบียบ
โดยวางแผนการจัดองค์ประกอบและงานเกี่ยวกับการสอน
อย่างมีจุดหมายที่เฉพาะเจาะจงที่จะให้ผู้เรียนบรรลุผลสำเร็จอย่างใดอย่างหนึ่ง
ความหมายของรูปแบบ
รูปแบบ Model
หมายถึง ชุดของความสัมพันธ์จะเป็นเชิงปริมาณหรือคุณภาพก็ได้
ซึ่งจะแสดงให้เห็นความหมายเกี่ยวพันของลักษณะทีแท้จริงของสิ่งที่เราเกี่ยวข้องคำว่า
รูปแบบ โดยมโนทัศน์ของคำจะมีความหมายอย่างน้อย ๓ อย่าง
1. ในทางสถาปัตย์หรือทางศิลปะจะ
หมายถึง หุ่นจำลอง
2.
ในทางคณิตศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ จะหมายถึง สมการ
3. ในทางศึกษาศาสตร์
จะหมายถึง ความสัมพันธ์ของตัวแปร กรอบของความคิด หรือ การแทนความคิดออกเป็นรูปธรรม
รูปแบบเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้นักทฤษฎีมองเห็นเหตุการณ์และแสดงความสัมพันธ์ตลอดจนการควบคุม
อ้างอิง หรือแปลความหมาย การสร้างรูปแบบจึงเป็นที่นิยมของนักทฤษฎีโดยทั่วไป
รูปแบบเป็นการแสดงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเท่านั้น
ไม่ใช่ปรากฏการณ์หรือสถานการณ์จริง ตัวอย่าง เช่น
เราเขียนแผนผังบริเวณโรงเรียนแผนผังนั้น
จึงเป็นเพียงข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์ของอาคารต่าง
ๆ ไม่ใช่บริเวณโรงเรียนจริง ๆ สรุปได้ว่า รูปแบบ แผนภูมิ หรือ แผนผัง
ช่วยให้มองเห็นทฤษฎีได้ง่ายขึ้น แต่ไม่ใช่ตัวทฤษฎีโดยตรง
ความหมายของรูปแบบการสอน
ในทางศึกษาศาสตร์
มีคำที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ คือ รูปแบบการสอน Model of teaching หรือ Teaching Model และรูปแบบการเรียนการสอนหรือรูปแบบ
การจัดการเรียนการสอน Instructional Model หรือ Teaching-Learning
Model คำว่า รูปแบบการสอน มีผู้อธิบายไว้ดังนี้
(๑)
รูปแบบการสอน หมายถึง แบบหรือแผนของการสอน
รูปแบบการสอนแบบหนึ่งจะมีจุดเน้นที่เฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง
รูปแบบการสอนแต่ละรูปแบบจึงอาจมีจุดหมายที่แตกต่างกัน
(๒)
รูปแบบการสอน หมายถึง
แผนหรือแบบซึ่งสามารถใช้การสอนในห้องเรียน หรือสอนพิเศษเป็นกลุ่มย่อย หรือ
เพื่อจัดสื่อการสอน ซึ่งรวมถึง หนังสือ ภาพยนตร์ เทปบันทึกเสียง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์และหลักสูตรรายวิชา รูปแบบ การสอนแต่ละรูปแบบจะเป็นแนวในการออกแบบการสอนที่ช่วยให้นักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่รูปแบบนั้น
ๆ กำหนด
(๓)
รูปแบบการสอน หมายถึง แผนแสดงการเรียนการสอน
สำหรับนำไปใช้สอนในห้องเรียน
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ให้มากที่สุด
แผนดังกล่าวจะแสดงถึงลำดับความสอดคล้องกัน ภายใต้หลักการของแนวคิดพื้นฐานเดียวกัน
องค์ประกอบทั้งหลายได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา และทักษะที่ต้องการสอน
ยุทธศาสตร์การสอน วิธีการสอน กระบวนการสอน ขั้นตอนและกิจกรรมการสอน
และการวัดและประเมินผล
คำว่ารูปแบบการเรียนการสอน
หรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอน มีผู้อธิบายไว้ดังนี้
(๑) รูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง
โครงสร้างที่แสดงความสัมพันธ์และส่งเสริมซึ่งกันและกันระหว่างองค์ประกอบต่างๆ
ในการเรียนการสอน ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา ขั้นตอนการสอน การประเมินผล
รวมทั้งกิจกรรมสนับสนุนอื่น ๆ โดยผ่านขั้นตอนตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
(๒) รูปแบบการเรียนการสอน
เป็นโครงสร้างที่ใช้เป็นแนวในการสร้างกิจกรรมการเรียนการสอน
และจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอน
จากการศึกษาเอกสารต่าง
ๆ พบว่านักการศึกษาไทยส่วนใหญ่ใช้คำว่า รูปแบบการสอน มากกว่ารูปแบบการเรียนการสอนและรูปแบบการจัดการเรียนการสอน
ลักษณะของรูปแบบการสอน
รูปแบบการสอนมีผู้ให้คำอธิบายไว้ดังนี้
1.
รูปแบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญที่สัมพันธ์สอดคล้องกัน แม้รูปแบบ
การสอนแบบต่าง ๆ
ส่วนใหญ่มีองค์ประกอบสำคัญคล้ายคลึงกันแต่บางรูปแบบอาจมีองค์ประกอบบางส่วนแตกต่างกันบ้าง
2. รูปแบบการสอนควรการสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญา
ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาสติปัญญา ควรจัดสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
เพื่อให้สอดคล้องและส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา สิ่งแวดล้อมทางปัญญามีหลายลักษณะ
เช่น ข้อมูล สิ่งของ รวมทั้งเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ รูปแบบการสอนที่มุ่งมั่นพัฒนาสติปัญญา
จึงควรประกอบด้วยขั้นตอนการสอนที่ฝึกการกระทำหรือฝึกการคิดในลักษณะต่าง ๆ
โดยมีการจัดข้อมูลหรือสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนได้รับรู้
ได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างเป็นระบบแบบแผน
การออกแบบการเรียนรู้
เป็นการออกแบบที่มีเป้าหมายความเข้าใจในการเรียนรู้
ผู้ออกแบบหรือผู้สอนจึงต้องคิดอย่างนักประเมินผล
ตระหนักถึงหลักฐานของความเข้าใจทั้ง 6 ด้าน
ที่ชัดเจนและลึกซึ้ง โดยผู้เรียนสามารถอธิบาย แปลความ ในการนำไปประยุกต์ใช้
การออกแบบการเรียนรู้จึงเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถ
ในการแสดงความสามารถการนำเสนอมุมมองได้อย่างหลากหลาย ดังนี้
1. ความสามารถในการอธิบาย
ผู้เรียนสามารถอธิบาย ด้วยหลักการที่เป็นเหตุและผล อย่างเป็นระบบการประเมินผล ใช้วิธีการพูดคุยเพื่อประเมินเหตุผลจากการอธิบายของผู้เรียน
การมอบหมายงานที่ใช้ทักษะการเขียน การเรียงความ หรือย่อความ
การสอบถามถึงประเด็นที่ผู้เรียนมักสับสนหรือหลงประเด็น
การให้ผู้เรียนสรุปประเด็นการเรียนรู้
และการสังเกตลักษณะคำถามที่ผู้เรียนสอบถาม
2. ความสามารถในการแปลความ
ผู้เรียนสามารถแปลความได้ชัดเจน และตรงประเด็น
การประเมินผล
ใช้วิธีการให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนเรื่องราว แนวคิด หรือทฤษฎี
เพื่อประเมินเกี่ยวกับการลำดับ ไล่เรียง และความชัดเจนของสาระเนื้อหา
3. ความสามารถในการประยุกต์ใช้
ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้องและครอบคลุม
การประเมินผล
ใช้วิธีการให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ
การให้ผู้เรียนประเมินหรือเขียนข้อมูลป้อนกลับจากการนำความรู้ไปใช้
4. ความสามารถในการมองมุมที่หลากหลาย
ผู้เรียนสามารถเสนอมุมมองใหม่ ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือการประเมินผล
ใช้วิธีการวิเคราะห์วิจารณ์ โดยให้ผู้เรียนเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย
แนวทางในการคิด การมองจากสถานการณ์ตัวอย่าง
5. ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น
ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับฟังและสนองตอบ
การประเมินผล
ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินความสามารถในการสมมติ การเข้าไปนั่งในใจผู้อื่น
6. ความสามารถในการเข้าใจตนเอง
ผู้เรียนมีความใส่ใจ พร้อมปรับตัวรับการเรียนรู้ใหม่ การประเมินผล
ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินเปรียบเทียบผลงานของตัวเองแต่ละช่วงเวลา
มีความรู้และเข้าใจมากขึ้นเพียงไร
ครูผู้สอน
:WHERE:
การออกแบบการเรียนรู้
W Where are we
heading เป้าหมายการเรียนรู้จะเป็นไปในทิศทางไหน?
H Hook the
student through provocative entry points ออกแบบการเรียนรู้ให้น่าสนใจเพื่อสร้างแรงจูงใจ
E Explore and
Enable การคัดเลือกเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์ประเด็นแนวคิด
ทฤษฎี และการนำไปใช้
R Reflection
and Rethink การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้และการสังเคราะห์ข้อสรุปจากเนื้อหาสาระ
E Exhibit and
Evaluate การประเมินผลที่มีเป้าหมายชัดเจน
เน้นสภาพความเป็นจริง
ทฤษฎี การออกแบบระบบการเรียนการสอน
กระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยส่วนตัว
เมื่อได้รับมอบหมายจากภาควิชาให้รับผิดชอบสอนในรายวิชาใด
ก็จะวางแผนการสอน สิ่งแรกที่ต้องทำ
(เป็นข้อบังคับของฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย) คือ
ต้องส่ง แนวการสอนหรือแผนการสอน (Course
Syllabus) ตลอดทั้งภาคเรียน
ซึ่งอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกันบ้าง
ในแต่ละสถาบัน
แต่ส่วนใหญ่น่าจะเป็นแผนการสอนโดยคร่าว
ๆ ส่วนประกอบ ได้แก่
ข้อมูลเกี่ยวกับรายวิชา
คำอธิบายรายวิชา จุดประสงค์ทั่วไป
แผนการสอนแต่ละบท/สัปดาห์ ที่ประกอบด้วย
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหา
(หัวเรื่องหลักและหัวเรื่องรอง)
กิจกรรมและวิธีการสอน สื่อการเรียนการสอน
ชื่อตำราหรือหนังสื่อที่ใช้ประกอบ
และ เกณฑ์การวัดและประเมินผล
กระบวนการเขียนแผนการสอนนี้
ผมคิดว่าเป็นกระบวนการออกแบบระบบการเรียนการสอน
เพียงแต่ไม่ได้แบ่งแยกขั้นตอนให้ชัดเจน
และบางขั้นตอนยังอาจจะยังไม่สมบูรณ์
ผมลองวิเคราะห์สิ่งที่ตนเองปฏิบัติหน้าที่ในการสอนที่ผ่านมา
เชื่อมโยงกับทฤษฎีการออกแบบระบบการเรียนการสอน
พอสรุปได้ดังนี้
1) การวิเคราะห์
(Analysis)
ในประเด็นต่าง ๆ
ได้แก่
-
การวิเคราะห์ความจำเป็น
สำหรับวิชาที่จัดไว้ในหลักสูตร
และเป็นวิชาที่เลือกให้นักศึกษาเรียน
ส่วนนี้คณะกรรมการบริหารหลักสูตร
ได้ทำการวิเคราะห์ถึงความจำเป็น
ด้วยเหตุและผล อาจมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตร
คำอธิบายรายวิชาให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าทางวิชาการที่เปลี่ยนไป
-
การวิเคราะห์งานหรือการเรียนการสอน
ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหาและกิจกรรมต่าง
ๆ
ที่ผู้สอนต้องทำในรายวิชา
โดยการแสดงหัวข้อเนื้อหาหลัก หัวเรื่องรอง
โดยยึดกรอบคำอธิบายรายวิชาเป็นหลัก
-
การวิเคราะห์ผู้เรียน
ส่วนใหญ่มักทำด้วยกระบวนการสั้น
ๆ เช่น สอบถามความรู้พื้นฐาน
บางครั้งอาจมีการประเมินผลก่อนเรียน
แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ในการออกแบบการเรียนการสอนเท่าไรนัก
ทั้งที่เป็นส่วนสำคัญมาก
ๆ
ที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จทางการเรียน
แต่เนื่องจากมีผู้เรียนจำนวนมากในห้องเรียน
ผู้สอนไม่อาจออกแบบการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้
จึงออกแบบการสอนให้เหมาะกับผู้เรียนส่วนใหญ่ในห้อง
-
การวิเคราะห์วัตถุประสงค์
มีการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการเรียนการสอน
โดยแบ่งเป็นวัตถุประสงค์ทั่วไปของรายวิชา
และวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในแต่ละบท
2) การออกแบบ (Design)
คือ การออกแบบในส่วนของ
วัตถุประสงค์การสอนแต่ละบทหรือแต่ละสัปดาห์
เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้ครบทั้ง
3 ด้าน คือ ด้านสติปัญญา (Cognitive) ด้านทักษะ (Psychomotor) และด้านลักษณะนิสัย (Affective) ลำดับเนื้อหาในการสอน
ระบุวิธีสอนหรือ
กลยุทธ์ในการสอน
ซึ่งส่วนใหญ่ก็ใช้วิธีการบรรยาย
อภิปราย มอบหมายงาน (ส่วนใหญ่ยังใช้วิธีผู้สอนเป็นศูนย์กลาง)
เลือกสื่อการสอน และกำหนดวิธีการประเมินผล
ทั้งหมดได้ออกแบบโดยกำหนดไว้ในแผนการสอนแล้ว
แต่จะนำมาใช้ตามแผนได้ทั้งหมดหรือไม่นั้น
บางครั้งมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา
(ถ้าสอนในชั้นเรียนปกติ
และมีนักศึกษากลุ่มใหญ่)
3) การพัฒนา (Development)
กระบวนการพัฒนา ได้แก่
การนำสิ่งที่คิดหรือออกแบบไว้มาใช้
ได้แก่
-
การพัฒนาเนื้อหา
กรณีไม่พัฒนาตำราหรือเอกสารประกอบการสอนเอง
ก็ใช้วิธีการเลือกหนังสือหรือตำราที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับสิ่งที่ออกแบบไว้
- การพัฒนาสื่อ
ที่สามารถทำได้ขณะนี้คือ
สไลด์ประกอบการสอน
เว็บไซต์แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม
-
การประเมินในขณะพัฒนา
เป็นกระบวนการที่สำคัญ
ผู้สอนมักไม่ค่อยได้นำมาใช้
เพราะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก อาจต้องมีผู้เชี่ยวชาญช่วยประเมินตรวจสอบ
หรือใช้กระบวนการวิจัยสื่อทำการหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสื่อ
4) การนำไปใช้
(Implementation)
คือ
ขั้นตอนการนำแผนการสอนที่ได้วิเคราะห์
ออกแบบ
และพัฒนาไว้ไปใช้สอนจริง
โดยพยายามดำเนินการตามแผนการสอนหรือระบบการเรียนการสอนที่ออกแบบไว้
5)
การวัดและประเมินผล (Evaluation)
กระบวนการวัดและประเมินผลการสอน ส่วนใหญ่เป็นขั้นตอนการวัดและประเมินผลเพื่อเป็นการตัดสินผู้เรียน
(เพื่อตัดเกรด) คือ การสอบระหว่างเรียน การสอบปลายภาค
การตรวจผลงานหรือโครงการที่มอบหมาย
ยังไม่ได้เน้นกระบวนการวัดผลเพื่อปรับปรุงผู้เรียนในขณะเรียน
ผมคิดว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญ
เพราะเป็นการประเมินว่าระบบการเรียนการสอนของเราว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด
มีข้อบกพร่องหรือไม่
ต้องแก้ไขปรับปรุงส่วนใด
แต่กระบวนการดังกล่าว อาจทำได้ค่อนข้างยาก
และผู้สอนต้องทุ่มเทเวลาให้อย่างมาก
ผลลัพธ์ของการออกแบบระบบการสอน
กระบวนการออกแบบระบบการสอนมีความสำคัญเท่ากันกับผลลัพธ์ที่ได้เพราะว่าความมั่นคงของผลผลิตนั้นขึ้นอยู่กับกระบวนการ
การที่จะให้มีความมั่นคงของผลลัพธ์ที่ได้ก็ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามขั้นตอนของแบบจำลองการออกแบบระบบการสอนดังกล่าวมาแล้ว จะต้องปฏิบัติการขั้นตอนแต่ละขั้นตอน
และสร้างสรรค์ผลลัพธ์เฉพาะออกมา
ผลผลิตของการออกแบบระบบการสอนมีความแปรผันในขอบข่ายและระดับความละเอียดซับซ้อน
สำหรับขอบข่ายนั้นจะครอบคลุมถึงความแตกต่างในขนาดและเนื้อหา
ส่วนความละเอียดซับซ้อนจะครอบคลุมถึงความแตกต่างในหลักสูตรและสื่อ
ในระดับที่เล็กที่สุดของขอบข่ายคือระดับแผนการเรียนและ โมดุลการเรียน ระดับต่อไปคือ
ระดับรายวิชา โปรแกรม การปฏิบัติการและหน่วยการสอน
ดังนั้นเพื่อให้การออกแบบระบบการสอนมีความสำคัญในสภาพแวดล้อมจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
3 ประการคือ
1)
การลดจำนวนเวลาที่ผู้สอนและผู้เรียนใช้ในชั้นเรียนแบบปกติ
2)
ความเป็นเอกเทศในตัวหลักสูตร
3)
การดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จด้วยระบบการถ่ายทอดราคาถูก
ประโยชน์ของการออกแบบระบบการสอน
ถึงแม้ว่าการออกแบบระบบการสอนได้รับการปรับใช้จากวิสาหกิจ วงการทหาร และหน่วยงานภาครัฐมากมาย
แต่ผลของการออกแบบระบบการสอนในโรงเรียนยังอยู่ในระดับต่ำ
เพราะเหตุผลดังนี้คือ
1) ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ในด้านการสอนเป็นสิทธิในการติดต่อสัมพันธ์ของผู้สอนกับผู้เรียนโดยตรงมากกว่าการพัฒนาวัสดุปัจจัยที่ออกแบบอย่างเป็นระบบ
2)
ตารางเรียนที่เคร่งครัดที่กำหนดไว้ในเชิงชั่วโมงที่ใช้ในชั้นเรียนกับผู้สอนมากกว่าจะเป็นรูปแบบผลลัพธ์ที่บรรลุผลสำเร็จ
3) การให้ทุนอุดหนุนส่งเสริมการสอนที่ใช้เทคโนโลยีพื้นฐานอยู่ในระดับต่ำ